วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ค. 2566
( ภาพจาก : www.chinadiscovery.com)
เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๖๓ รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจวงจรคู่ขนาน (Dual Circulation) ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับ “การหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศ (Internal Circulation)” ควบคู่ไปกับ “การหมุนเวียนเศรษฐกิจต่างประเทศ (External Circulation)” โดยนโยบายนี้กำหนดให้เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ ๕ ปี ฉบับที่ ๑๔ (ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๖๔ – ๒๕๖๘) ที่มุ่งรักษาเสถียรภาพของการค้าระหว่างประเทศ และในขณะเดียวกันก็หันมามุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี
รัฐบาลจีนเล็งเห็นถึงศักยภาพของมณฑลกวางตุ้งซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศเนื่องจากเป็นมณฑลที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๑ ของประเทศติดต่อกันเป็นเวลาถึง ๓๒ ปี จนถึงปี ๒๕๖๓ โดยเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อการส่งออก จนได้ชื่อว่าเป็น “โรงงานของโลก” ทำให้มณฑลนี้มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมากที่สุดในประเทศจีนถึง ๓๕ ปีซ้อน ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงมุ่งให้มณฑลกวางตุ้งเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงการทำพื้นที่ sandbox ทดลองนโยบายใหม่ ๆ ซึ่งผู้สนใจที่จะทำธุรกิจกับจีนควรจะเรียนรู้ถึงความสำคัญของกรอบความร่วมมือนี้เพื่อให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการค้าการลงทุนในเขต GBA อันจะเป็นประตูหลักสู่จีนต่อไป
พื้นที่เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า GREATER BAY AREA (GBA)
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ ๔ เมืองที่เป็น Core cities ของ Greater Bay Area (GBA)
เขตบริหารพิเศษฮ่องกง : เป็นเมืองที่ประเทศจีนวางยุทธศาสตร์ให้เป็นมหานครนานาชาติ (International Metropolis) ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศที่สำคัญ ๘ ด้าน และเป็นเมืองหน้าด่านเชื่อมโยงประเทศจีนกับโลกสากลเพื่อนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ ดังนั้น เมืองฮ่องกงจะมีอิสระในการบริหารตนเองสูงและมีความเชื่อมโยงกับโลกตะวันตกมากที่สุด โดยศูนย์กลางระหว่างประเทศทั้ง ๘ ด้าน ได้แก่
เมืองเซินเจิ้น : เป็นเมืองหน้าด่านของจีนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อทดลองนโยบายทางการเงินรูปแบบใหม่ ในลักษณะ sandbox อาทิ การทดลองใช้เงินสกุลดิจิทัลหยวนในประเทศจีน และการตั้งเขตการค้าเสรีเฉียนไห่ (Qianhai Cooperation Zone) เพื่อเชื่อมความร่วมมือระหว่างเซินเจิ้นกับฮ่องกงในด้านการค้าการลงทุน นอกจากนี้ จีนยังวางยุทธศาสตร์ให้เซินเจิ้นเป็นเมืองแห่งการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ โดย
เซินเจิ้นเป็นที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่จำนวนมาก อาทิ บริษัทหัวเหว่ย (Huawei) บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BYD บริษัทผลิตอุปกรณ์สื่อสาร ZTE บริษัทไอทีที่ใหญ่ที่สุดของจีน TenCent และอื่น ๆ
เมืองกว่างโจว : เป็นเมืองยุทธศาสตร์ของมณฑลกวางตุ้ง ในด้านอุตสาหกรรม การค้า และการขนส่งในประเทศ โดยจะเป็นประตูศูนย์กลางเชื่อมสู่เมืองรองต่าง ๆ ในมณฑล โดยประเทศไทยได้จัดตั้ง สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว และ สำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในต่างประเทศ (BOI) เพื่อขยายความร่วมมือการค้าการลงทุนระหว่างบริษัทต่าง ๆ ของจีนในเขต GBA กับ ประเทศไทยให้มากขึ้น
เขตบริหารพิเศษมาเก๊า : เป็นเมืองที่วางเป้าหมายของการพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์รวมการท่องเที่ยว และสันทนาการระดับโลก รวมไปถึงการเป็นศูนย์รวมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศจีนกับประเทศในกลุ่ม Lusophone ที่มีการใช้ภาษาโปรตุเกสร่วมกัน นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังสนับสนุนให้มาเก๊าสามารถเข้าร่วมการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบที่หลากหลายได้ อาทิเช่น การพัฒนาเขตการค้าเสรีในเขตเหิงฉิน (Hengqin Cooperation Zone) เพื่อเชื่อมความร่วมมือทางการค้าการลงทุนระหว่าง มาเก๊า กับ มณฑลกวางตุ้ง
นอกจากนี้ การพัฒนา core cities ในเขต GBA ทั้ง ๔ เมืองจะมีลักษณะบูรณาการร่วมกัน ผ่าน ๔ โครงการขนาดใหญ่และโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละเมืองเพื่อให้การพัฒนามณฑลกวางตุ้งบรรลุเป้าหมายตามแผน
โครงการขนาดใหญ่ทั้ง ๔ โครงการของ GBA ประกอบด้วย
โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมโยงเมืองต่าง ๆ ในเขต GBA เข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วย
(ภาพจาก : https://www.hzmb.gov.hk/en) (ภาพจาก : https://news.cgtn.com)
2. Guangzhou-Shenzhen-Hong Kong Express Rail Link (XRL) เป็นโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อระหว่างฮ่องกงกับเมืองเซินเจิ้นไปถึงนครกว่างโจว และจะเชื่อมเข้ากับเส้นทางรถไฟของประเทศจีนต่อไป ทั้งนี้รถไฟสามารถทำความเร็วสูงสุดที่ ๓๕๐ กม./ชั่วโมง โครงการนี้เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ทำให้การเดินทางจากฮ่องกงไปยังนครกว่างโจวใช้เวลาเพียงแค่ ๔๘ นาที สามารถลดระยะเวลาในการเดินทางลงเหลือเพียง ๑ ใน ๓ ของระยะเวลาที่ใช้ในอดีต
(ภาพจาก : www.executivetraveller.com) (ภาพจาก : https://thehkshopper.com)
3. สะพาน Nansha Bridge หรือ ที่มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สะพาน “Humen Second Bridge”เป็นสะพานแขวนคานเหล็กหน้าตัดรูปกล่องที่กว้างที่สุดในโลก เปิดให้บริการเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๒ ด้วยความยาว ๑๒.๙ กม. และเป็นสะพานแห่งแรกของจีนที่ติดตั้งเครือข่าย 5G ถือเป็นสะพานยุทธศาสตร์ที่เชื่อมเมืองต่าง ๆ ในฝั่งตะวันออกของ GBA อย่าง เมืองเซินเจิ้น ตงก่วน และหุ้ยโจว เข้ากับเมืองฝั่งตะวันตกอย่าง
ฝอซาน จูไห่ จงซาน เจียงเหมิน และจ้าวซิ่ง โดยสะพานดังกล่าวได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับรถยนต์วิ่งผ่านได้ถึง ๑๐๐,๐๐๐ คันต่อวัน และสามารถทำความเร็วได้สูงถึง ๑๐๐ กม. ต่อชั่วโมง
(ภาพจาก : www.chinadailyhk.com) (ภาพจาก : http://www.ecns.cn)
4. สะพาน Shenzhen-Zhongshan Bridge หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สะพาน “หลิงติงหยาง” เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างเมืองเซินเจิ้นกับเมืองจงซาน มีกำหนดเปิดให้บริการในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยตัวสะพานมีความยาวประมาณ ๒๔ กม. และหอคอยหลักของสะพานมีความสูงเทียบเท่าตึกสูง ๙๐ ชั้น รวมทั้งมีช่องลอดใต้สะพานสำหรับการเดินเรือสูงถึง ๗๖.๕ เมตร และความกว้างของสะพานถึง ๘ ช่องจราจรโดยสะพานนี้เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้เมืองจงซานกลายเป็นเป้าหมายใหม่สำหรับบริษัทในเซินเจิ้น และเมืองข้างเคียงที่ต้องการมองหาที่ดินราคาไม่สูง ก่อให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ฝั่งตะวันตกของ GBA
(ภาพจาก : news.trueid.net) (ภาพจาก นสพ.SCMP)
ทั้งนี้ เห็นได้ว่าประเทศจีนได้วางรากฐานการเชื่อมโยงเมืองต่าง ๆ ให้สนับสนุนการพัฒนาซึ่งกันและกันอย่างมีระบบ สำหรับผู้ประกอบการไทยที่สนใจจะทำตลาดในเขต GBA สามารถที่จะเลือกเปิดตลาดหรือสร้างช่องทางในฮ่องกงได้ก่อน ด้วยเหตุผลหลายประการ
ทำไมการทำธุรกิจในเขต GBA จึงควรทำผ่านเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
6. ธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งในฮ่องกงจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มครองในการลงทุนตามความตกลงCloser Economic Partnership Arrangement (CEPA) ระหว่างฮ่องกงกับรัฐบาลจีนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน โดยความตกลง CEPA จะเป็นความร่วมมือใน ๔ ด้าน ได้แก่
– ความร่วมมือด้านการค้า โดยสินค้าที่ผลิตในฮ่องกงและได้รับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากหน่วยงานรัฐบาล (certificate of origin : CO) สามารส่งออกไปยังประเทศจีนได้โดยปราศจากภาษีนำเข้า
– ความร่วมมือด้านบริการ บริษัทที่จัดตั้งในฮ่องกงสามารถให้บริการในประเทศจีนได้โดยได้รับการผ่อนปรนในกฎข้อบังคับต่าง ๆ สำหรับหลายบริการ อาทิ บริการด้านกฎหมาย บริการด้านธนาคารประกันภัยบริการด้านการออกแบบ ด้านคำปรึกษาทางวิศวกรรม และอื่น ๆ
– ความร่วมมือด้านการลงทุน บริษัทที่จัดตั้งในฮ่องกงสามารถขอลงทุนในประเทศจีนได้ โดยได้รับความคุ้มครองการลงทุนและมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ จากประเทศจีน อาทิ การลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ การประมงในน่านน้ำจีน และอื่น ๆ
– ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการ โดยในปัจจุบันมีความตกลงร่วมกันระหว่างฮ่องกงกับประเทศจีน ๒๒ ด้าน อาทิ การจัดสัมมนา งานแสดงสินค้า และอื่นๆ
(ภาพจาก : https://www.hk01.com) (ภาพจาก : https://www.familyoffices.hk)
แหล่งที่มาข้อมูล
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
สำหรับการขอรับรองเอกสาร การยื่นและรับเอกสาร 09.30-12.30 น. |