1. |
การรับรองคำแปล
1.1 การรับรองคำแปลเอกสารภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่
- เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวคนต่างด้าว ทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อ/สกุล ฯลฯ
- เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการหย่า ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หนังสือรับรองความเป็นโสดที่อำเภอออกให้ ฯลฯ
- เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือรับรองจากสถาบันการศึกษา ฯลฯ ทั้งนี้ หากเป็นเอกสารที่ออกโดยสถาบันการศึกษาของเอกชนต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน หรือมิเช่นนั้น สถาบันการศึกษาดังกล่าวต้องจัดส่งตัวอย่างลายมือชื่อ
ผู้มีอำนาจลงนามมาให้กรมการกงสุล กองสัญชาติและนิติกรณ์ ทราบเป็นการล่วงหน้า หากเป็นการรับรองสำเนาเอกสารการศึกษา จะต้องให้สถาบันการศึกษารับรองในสำเนานั้นก่อน
- เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคลที่ออกโดยราชการไทย เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิรายชื่อผู้ถือหุ้น
รายงานการตรวจสอบบัญชี งบดุล ใบเสร็จการชำระภาษี ฯลฯ
- เอกสารราชการอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ฯลฯ
1.2 การรับรองคำแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ได้แก่
- เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
- เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า ฯลฯ
- เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร และหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา ฯลฯ
- เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
|
2. |
การรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร ได้แก่
- เอกสารทางการค้า เช่น ใบกำกับราคาสินค้า (Invoice) ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin-C/O) ฯลฯ ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ หรือหอการค้าไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก่อน
- เอกสารทางการเงิน เช่น หนังสือรับรองการเงินที่ออกโดยธนาคารและลงนามโดยผู้มีอำนาจของธนาคารที่ออกเอกสารนั้น
- หนังสือมอบอำนาจ (ในนามบริษัท) ผู้มอบอำนาจต้องเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามตามที่ระบุในหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ และต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
- หนังสือมอบอำนาจ (ส่วนบุคคล) ผู้มอบอำนาจต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
- หนังสือรับรองอื่นๆ อาทิ หนังสือรับรองผลการวิเคราะห์สินค้า และหนังสือรับรองความประพฤติต้องเป็นเอกสารซึ่งออกหรือผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
** สำหรับใบตรวจโรคหรือใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อให้กองสัญชาติฯ ตรวจสอบ ต้องนำเอกสารดังกล่าวไปให้แพทยสภารับรองก่อน **
|
3. |
การรับรองสำเนาเอกสารที่หน่วยงานราชการไทยออกให้ ได้แก่
- เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
- เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า ฯลฯ
- เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร และหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา ฯลฯ
- เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคลที่ออกโดยราชการไทย เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
|
4. |
การรับรองเอกสารทั่วไป
- หากเป็นเอกสารที่ทำขึ้นในฮ่องกงหรือมาเก๊า ผู้ยื่นขอรับรองจะต้องนำเอกสารดังกล่าว ไปยื่นขอรับรองจาก Notary Public ที่ได้รับการประทับรับรองจากทางการฮ่องกงหรือมาเก๊า (ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักงาน Notary Public) แล้วจึงนำมายื่นต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ ทั้งนี้ สถานกงสุลใหญ่ฯ ประทับรับรองลายมือชื่อของ Notary Public โดยไม่ได้รับรองข้อความใด ๆ ในเอกสารดังกล่าว
- เอกสารที่จะรับรองจะต้องไม่มีข้อความที่ขัดต่อกฎหมายหรือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
|