วันที่นำเข้าข้อมูล 18 พ.ค. 2566
ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงเนื่องจากเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินแห่งเอเชีย โดยมีรายได้หลักมาจากภาคการเงินเป็นสำคัญ ประชากรฮ่องกงมีประมาณ ๗.๒๙ ล้านคน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕) แม้ฮ่องกงจะเป็นแค่เมืองเล็ก ๆ ที่มีจำนวนประชากรไม่มากแต่เป็นประชากรที่มีกำลังซื้อสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลกในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา และหนึ่งในธุรกิจที่มีหลายประเทศให้ความสนใจในฮ่องกง คือ ธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการผู้สูงอายุ เนื่องจากปริมาณผู้สูงอายุในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้จากการขยายตัวของภาคธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดบทความนี้จึงเน้นศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและแรงงานไทยให้เข้าใจถึงบริบทของธุรกิจนี้ในฮ่องกงพอสังเขปเพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจหรือการพัฒนาต่อยอดธุรกิจต่อไป
ข้อมูลโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุในฮ่องกง
“สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) คือสังคมที่มีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ ๑๐ ต่อประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกันมากกว่าร้อยละ ๗ ในปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศรวมทั้ง ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ได้มีปัญหาเรื่องนี้แล้ว โดยญี่ปุ่นมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุประมาณ ๗ ล้านคน ส่วนฮ่องกงมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ ๒๙ ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ข้อมูลในปี ๒๕๖๕) สิ่งที่น่าสนใจคือ จำนวนผู้สูงอายุในฮ่องกงที่มีอายุเกินกว่า ๑๐๐ ปีได้เพิ่มขึ้นมาก จากจำนวนเพียง ๒๘๙ รายในปี ๒๕๒๔ ได้เพิ่มเป็น ๑๑,๕๗๕ รายในปี ๒๕๖๔ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้นทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง
จากข้อมูลตามแผนภูมิด้านบนพบว่า เมื่อสิ้นปี ๒๕๖๕ ฮ่องกงมีประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปถึงร้อยละ ๒๙ ซึ่งเกินกว่า ๑ ใน ๔ ของประชากรทั้งหมด ตามมาด้วยประชากรในกลุ่มอายุ ๔๐-๕๙ ปี ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ ๓๒ ทำให้จำนวนประชากรผู้สูงอายุในอีก ๕ ปีข้างหน้าจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับประมาณ ๑ ใน ๓ ของประชากรทั้งหมด
Note:
Figures from 1996 onwards are compiled based on the population estimates under the “resident population” approach instead of the “extended de facto” approach.
Source: Census and Statistics Department.
จากข้อมูลในแผนภูมิด้านบนนี้พบว่า เมื่อสิ้นปี ๒๕๖๕ ประชากรฮ่องกงจะมีสัดส่วนโดยประมาณ เป็นผู้ชายร้อยละ ๔๖ ผู้หญิงร้อยละ ๕๔ และอายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้หญิงอยู่ที่ ๘๘ ปี ขณะที่ของผู้ชายอยู่ที่ ๘๒.๙ ปี ซึ่งโครงสร้างประชากรประกอบด้วยผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณร้อยละ ๘ และมีอายุขัยโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นทุกปี ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องบริการผู้สูงอายุ โดยเน้นที่ผู้หญิงเป็นหลัก
ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานพยาบาลฮ่องกง
โอกาสของธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทย
Medical and Wellness Tourism เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวแบบใหม่ที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการมาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป การรับคำปรึกษาทางการแพทย์ การทำศัลยกรรม ทันตกรรม และอื่น ๆ ธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่สร้างมูลค่าสูงสำหรับประเทศไทยเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศอย่างครบวงจร ประกอบด้วยการบริการด้านการโรงแรม สายการบิน ร้านอาหาร สถานพยาบาล รถเช่า พนักงานบริการ และอื่น ๆ ทั้งนี้ ข้อมูลของสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน แสดงให้เห็นว่า ในปี ๒๕๖๐-๒๕๖๒ มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศไทยในรูปแบบ Medical Tourism สูงถึง ๓.๖ ล้านคน ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว ๔๑,๐๐๐ ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า ๙,๑๙๕ คนในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน พบว่า มีรายได้จากค่ารักษาพยาบาลไม่ต่ำกว่าปีละ ๓๙,๐๐๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๔ ของรายได้โรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ในขณะที่ Wellness Tourism สามารถถึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้สูงถึง ๑๒.๕ ล้านคน ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยว ๔๐๙,๒๐๐ ล้านบาท และเกิดการจ้างงานกว่า ๕๓๐,๐๐๐ คน (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตีพิมพ์ลงใน นสพ.ฐานเศรษฐกิจ เมื่อ ๓๐ ต.ค. ๒๕๖๔)
ข้อคิดเห็นเสนอแนะ
การจะขยายธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพไทยเพื่อดึงกำลังซื้อของคนฮ่องกงไปยังประเทศไทยควรดำเนินการในลักษณะความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน โดยมีการวางแผนศึกษาอย่างรัดกุมในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด เนื่องจากการเปิดตลาดฮ่องกงหากสามารถทำได้จะเป็นประตูสู่ตลาดจีนซึ่งมีปริมาณและมูลค่ามหาศาล สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมากมายและยั่งยืน
การสนับสนุนสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการทำตลาดผู้สูงอายุในฮ่องกงควบคู่กับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
แหล่งที่มาของข้อมูล :
– China daily news : middle income in Hong Kong ( 08 September 2019) https://www.chinadaily.com.cn/
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
สำหรับการขอรับรองเอกสาร การยื่นและรับเอกสาร 09.30-12.30 น. |