5,400 view

เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Special Administrative Region)

20 ม.ค. 2566

  • จีนปกครองฮ่องกงภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ต้ังแต่วันท่ี ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๐
  • เป็นศูนย์กลางทางการค้าเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคเอเชีย
  • เป็นผู้ส่งออกสินค้าอันดับ๖ของโลกมีท่าเรือและสนามบินที่มีอัตราการหมุนเวียนสินค้าสูงที่สุด ในโลกในปี ๒๕๖๔
  • มีตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของเอเชียและใหญ่เป็นอันดับ ๗ ของโลก
  • เป็นเมืองท่าปลอดภาษีและเป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเงินหยวนข้ามพรมแดน
  • เป็นศูนย์รวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยในปี ๒๕๖๔ ดัชนี Global Innovation Index ได้จัดให้ฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ ๑๔ ของโลก

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ ๑,๑๑๓.๗๖ ตร.กม.
ภูมิประเทศ ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน ดินแดน New Territories และเกาะเล็ก ๆ อีก ๒๖๑ เกาะ
ประชากร ๗.๒๙ ล้านคน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
ศาสนา พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม ฮินดู
ภาษา จีนกวางตุ้ง จีนกลาง อังกฤษ
ชนชาติหลัก จีนฮั่น (ร้อยละ ๙๑.๖)
ผู้บริหารสูงสุด
(Chief Executive)
นาย John Lee Ka-Chiu
(เข้ารับตําแหน่งเมื่อ ๑ กรกฏาคม ๒๕๖๕)

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP USD ๓๖๗.๙ พันล้าน
GDP per Capita USD ๔๙,๖๑๓ (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
GDP Growth ร้อยละ ๓.๒ (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๘ (ข้อมูลปี ๒๕๖๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๔)
สกุลเงิน ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD ๗.๘๑ = ๑ USD / ๓.๙๗ บาท = ๑ HKD)
ทรัพยากรธรรมชาติ ฮ่องกงมีพื้นที่จํากัดและไม่มี ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการส่งออก
อุตสาหกรรมหลัก บริการด้านการเงิน การค้าและโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว บริการด้านวิชาชีพ
การค้ากับต่างประเทศ USD ๑,๑๑๗.๐ พันล้าน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
มูลค่าการส่งออก USD ๕๓๖.๕ พันล้าน
มูลค่าการนำเข้า USD ๕๘o.๕ พันล้าน
สินค้าส่งออกที่สำคัญ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า อัญมณี นาฬิกา อาหาร ของเล่น
สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนเบ็ดเตล็ด สินค้าอุปโภค/บริโภคเคมีภณั ฑ์อาหาร
ตลาดส่งออกที่สำคัญ จีน สหรัฐฯ อินเดีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหภาพ ยุโรป ประเทศในกลุ่มอาเซียน
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ อินเดีย ประเทศในกลุ่มอาเซียน

สถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๖๓)

การท่องเที่ยว ในปี ๒๕๖๕ มีนักท่องเที่ยวฮ่องกงมาไทย ๔๐,๓๘๒ คน (จํานวนลดลงจากในอดีตเนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙)
การค้ากับไทย ในปี ๒๕๖๕ ไทยและฮ่องกงมีมูลค่าการค้ารวม USD ๑๑,๘๙๗.๗๒ ลา้ น (ลดลงร้อยละ ๗.๗๖ จากปี ๒๕๖๔) โดยไทยนําเขา้ จากฮ่องกง USD ๒,๕๓๓.๒๑ ล้าน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๐๓ จากปี ๒๕๖๔) และส่งออกไปยังฮ่องกง USD ๙,๓๖๔.๕๑ล้าน (ลดลงร้อยละ ๙.๘๘ จากปี ๒๕๖๔) โดยฮ่องกงเป็นตลาดคู่ค้าอันดับ ๑๓ ของไทย
สินค้านำเข้าจากไทย คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ผลไม้สดและแห้ง ข้าว อุปกรณ์กึ่งตัวนํา ทรานซิสเตอร์ และไดโอด นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์
สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคํา แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผ้าผนื เหล็ก สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะ ผลิตภัณฑ์ทําจากพลาสติก อุปกรณ์กึ่งตัวนํา ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เคมีภัณฑ์ วงจรพิมพ์ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องคอมพิวเตอร์
ธุรกิจสำคัญของไทยในฮ่องกง บริษัท การบินไทย ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย บริษัท ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เครือไทยเบฟเวอเรจ จํากัด (มหาชน) บริษัท ส. ขอนแก่น ฟู้ดส์
จำนวนคนไทย ประมาณ ๒๗,๘๔๒ คน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
ทีมประเทศไทย สถานกงสุลใหญ่ฯ สนง.ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สนง.ศุลกากร สนง.แรงงาน ททท. สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครกว่างโจว สนง.ฝ่ายการเกษตร ณ นครกว่างโจว