3,282 view

เขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao Special Administrative Region)

20 ม.ค. 2566

  • เป็นเมืองที่มีจุดแข็งในธุรกิจภาคบริการและสันทนาการโดยเฉพาะการท่องเที่ยว บันเทิงและคาสิโนโดยประเทศจนีวางยุทธศาสตร์ในการผลักดันใหม้าเก๊าเป็น ศูนย์กลางการท่องเที่ยวและสันทนาการระดับโลกในอนาคต
  • มีการใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นหนึ่งในภาษาราชการ จึงสามารถทําธุรกิจเชื่อมต่อกับ กลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาโปรตุเกสได้
  • มีข้อได้เปรียบดา้นความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษารัฐบาลจึงได้ พยายามส่งเสริม ให้มาเก๊ามีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ อาทิ การพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์การจดัการประชุมและนิทรรศการและอื่นๆ
  • มีโครงการพฒันาเขตใหมเ่หิงฉิน (Hengqin New Area) ร่วมกับเมืองจูไห่ของ มณฑลกวางตุ้งโดยเขตดังกล่าวจะเป็นเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่ ๓๓ ตร.กม.
ประชากร ประมาณ ๖๘๒,๐๗๐ คน (ปี ๒๕๖๔)
ภาษา จีนกวางตุ้ง จีนกลาง อังกฤษ โปรตุเกส
ศาสนา พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์
ผู้บริหารสูงสุด
(Chief Executive)
นาย Ho Iat Seng
เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๒
ชนชาติหลัก จีน (ร้อยละ ๙๕) โปรตุเกส ฟิลิปปินส์

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP ๒๓๙,๔๐๖ พันลา้น MOP (ข้อมูลปี ๒๕๖๔)
GDP per capita ๓๕๐,๔๔๕ MOP (ข้อมูลปี ๒๕๖๔)
GDP growth เติบโตร้อยละ ๑๗.๑ (ขอ้ มูลปี ๒๕๖๔)
สกุลเงิน ปาตากา (หน่วย : ปาตากา MOP)
(๘.๐๒ MOP ตอ่ ๑ USD / ๔.๑๐ บาท ต่อ ๑ MOP)
เงินทุนสํารอง USD ๒๕.๙๗ พันล้าน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ ๐.๗๖ (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
ทรัพยากรธรรมชาติ มาเก๊ามีพื้นท่ีจํากดัและไมม่ี ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วนนาฬิกาสิ่งทอและ เครื่องนุ่งห่ม อัญมณี
สินค้านําเข้าที่สําคัญ อาหารและเครื่องดื่ม ทองคํา เครื่องประดับ เสื้อผ้าและรองเท้า นาฬิกา โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า
อุตสาหกรรมหลัก การท่องเท่ียว บันเทิง การก่อสร้าง การจัดการประชุมและนิทรรศการ
ตลาดส่งออกที่สำคัญ ฮ่องกง จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียตนาม เยอรมนี อังกฤษ
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ จีน อิตาลี ฮ่องกง ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน สิงคโปร์ และ เยอรมนี

สถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๖๓)

การท่องเที่ยวการค้ากับไทย ปี ๒๕๖๕ มีมูลค่าการค้ารวม USD ๔๓.๗๔ ล้าน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๒๔ จากปี ๒๕๖๔) โดยไทยส่งออก USD ๓๓.๔๐ ล้าน (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๙.๒๖ จากปี ๒๕๖๔) และนําเข้า USD ๑๐.๓๓ ลา้น (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๐๘ จากปี ๒๕๖๔) ส่งผลให้ไทยได้เกินดุลการค้า USD ๒๓.๐๗ ล้าน
สินค้านําเข้าจากมาเก๊า สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลวดและ สายเคเบิล เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เสื้อผ้าสําเร็จรูป รองเท้า ผ้าผืน
สินค้าส่งออกจากไทย อัญมณีและเครื่องประดับ ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว อุปกรณ์กึ่งตัวนํา ทรานซิสเตอร์และไดโอดแผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เภสัชภัณฑ์ นาฬิกาและส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ผักกระป๋อง
การท่องเที่ยว ในปี ๒๕๖๕ มีนักทอ่งเที่ยวเดินทางมาเยือนมาเก๊าทั้งสิ้น ๕,๓๑๐,๙๔๙ คน โดยปริมาณนักท่องเที่ยวสูงสุด ๕ ประเทศแรกมาจาก จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น โดยเดินทางมายังมาเก๊าทางบกมากที่สุดสูงถึงร้อยละ ๙๓.๔๓ และมีอัตราการพักโดยเฉลี่ยในมาเก๊าอยู่ที่ ๑.๕ วัน
จํานวนคนไทยพํานักอาศัยในมาเก๊า ๕๔๒ คน (ข้อมูลปี ๒๕๖๕)
ทีมประเทศไทย สกญ. ณ เมืองฮ่องกง สนง. สง่ เสริมการค้าระหว่างต่างประเทศ สนง. ศุลกากร สนง. แรงงาน สนง. ททท. สนง. เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครกว่างโจว สนง. ทปษ. ฝ่ายการเกษตร ณ นครกว่างโจว